พระราชวังบางปะอิน สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
พระราชวังบางปะอิน
หอเหมมณเฑียรเทวราช
หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลา ยอดทรงปราสาทแบบขอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ขึ้นในปี พ.ศ. 2423 เพื่อทรงอุทิศ ถวายแด่พระเจ้าปราสาททอง ซึ่งทรงได้รับพระนามนี้เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีผู้ค้นพบปราสาทแบบขอมขนาดย่อ ส่วนทําด้วยทองคํา
Ho (Shrine) HEM MONTHIAN THEWARAT (Golden Palace, king of the gods) Ho Hem Monthian Thewarat is a small stone structure in the form of a Khmer-style prasat (residence of king or god with a corncob-shaped super-structure) built by King Chulalongkorn in 1880 and dedicated to King Prasat Thong of Ayutthaya, the literal translation of whose name is King of the Golden Palace, because a miniature Khmer-style prasat of gold was discovered during his reign.
สภาคารราชประยูร
เป็นตึกสองชั้นริมน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้าและข้าราชบริพารปัจจุบันจัดแสดงสิ่งของที่มีผู้ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสต่างๆ
SAPHAKHAN RATCHAPRAYUN (Assembly Hall for royal relatives)
As its name implies, this colonial-style two- storyed structure was built in 1876 to house King Chulalongkorns brothers and their suites Majesty the King Bhumibol Adulyadej andother occasions are on display in this building
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2419 และพระราชทานนามว่าพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ ตามนามพระที่นั่งองค์แรก ซึ่งพระเจ้าปราสาททอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ พระราชวังบางปะอินแห่งนี้ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
PHRA THINANG (Royal Residence) AISAWAN THIPHYA-ART (The divine seat of personal freedom)
PHRA THINANG AISAWAN THIPHYA-ART is a Thai-style pavilion with four porches and a spired roof built by King Chulalongkorn in the middle of an outer pond in 1876. It is a copy of the Phra Thinang Aphonphimok Prasat in the Grand Palace, which was built by his father, King Mongkut, as a pavilion for changing regalia before mounting a palanquin. King Chulalongkorn named this building Aisawan Thiphya-art after King Prasat Thong’s original pavilion. This pavilion now houses a bronze statue of King Chulalongkorn in the uniform of a Field Marshal which was sat up by his son King Vajiravudh (Rama VI).
เป็นพระที่นั่งตึกชั้นเดียว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2419 ตรงบริเวณที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกสร้างเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ต่อมาได้ดัดแปลงรื้อลงเป็นชั้นเดียว ใช้เป็นที่ประทับและมีท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการภายในห้องโถงรับรอง และห้องทรงพระสำราญ ประดับภาพเขียนสีน้ำมันภาพพระราชพงศาวดารประกอบโคลงบรรยายภาพอันงดงามทรงคุณค่าเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย และฉากต่างๆ จากวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ ให้วาดภาพเหล่านี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2430 ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระราชวังบางปะอิน
PHRA THINANG (Royal Residence) WAROPHAT
PHIMAN (Excellent and shining heavenly abode)
PHRA THINANG WAROPHAT PHIMAN is a Neo-Classic style, one-story mansion built by KingChulalongkorn in 1876 as his residence and throne hall. The audience chambers and anterooms are decorated with oil paintings depicting significant evets in Thai history and scenes from Thai litera- ture. The series of historical paintings was commis- apartments of this building, which are located in sioned by King Chulalongkorn in 1888. The private the Iriner Palace section, are still used by Their Majesties whenever they reside at the Palace.
เดิมเรียกว่า ประตูเทวราชดำรงศร ตั้งอยู่แนวกำแพงด้านใต้ ลักษณะเป็นอาคารตึกชั้นเดียว อาคารโค้งครึ่งวงกลมใช้เป็นเส้นทางสำหรับเสด็จฯ ผ่านเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ปัจจุบันนี้ใช้จัดนิทรรศการ
DEVARAJ-KUNLAI GATE
Formerly known as Devaraj-Damrongsorn Gate, was located along the southern wall. It resembled a single-storey building in a semi-circle structure. This was the passage used by the king to access the inner court. Nowadays this building use for setting up the exhibitions.
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร
เป็นพระที่นั่งเรือนไม้สองชั้นแบบชาเลต์ของสวิส คือ มีเฉลียงทั้งชั้นบนและชั้นล่างทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับ กันทั้งองค์พระที่นั่ง ภายในตกแต่งแบบยุโรป ด้วยเครื่องเรือนแบบฝรั่งเศส สมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เป็นชุดเดียวเข้ากันหมดทั้ง พระที่นั่งอย่างงดงาม เป็นที่ประทับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดปรานมากที่สุด ได้เสด็จแปร พระราชฐานมาประทับบางคราวถึง 3 ครั้งต่อปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในปีพ.ศ. 2481 ขณะที่มีการดำเนินการซ่อมทาสีพระที่นั่ง ได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหมัพระที่นั่งหมดสิ้น ทั้งองค์เหลือแต่หอน้ำลักษณะคล้ายหอรบของยุโรปเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นใหม่
PHRA THINANG UTHAYAN PHUMISATHIAN (Garden of the secured land)
PHRA THINANG UTHAYAN PHUMISATHIAN was the favourite residence of King Chulalongkorn when he stayed at the Bang Pa-in Palace, some- times as often as three times a year. Built in 1877 of wood in the style of a two-storyed Swiss chalet, the mansion was painted in two tones of green. In the words of Prince Ookhtomsky, a Russiah officer who accompanied the Czarevitch, the future Czar Nicholas Il of Russia, on a visit in 1890 it was “furnished luxuriously and with refined taste and comfort.”* Unfortunately, while undergoing a minor repairs it was accidentally burnt down in 1938 Nowadays the new building was constructed by the Queen Sirikit’s commanded. The water tank, disguised as a crenellated Neo-Gothic tower, is remained.
Prince E. Ookhtomsky, Travels in the East of Nicholas II Emperor of Russia when Cesarewitch 1890-1891. Ed. Sir George Birdwood, (London Archibald Constable and company, 1896) Vol. II. p.240.
หอวิฑูรทัศนา
เป็นหอสูงยอดมน ตั้งอยู่กลางเกาะในพระราชอุทยาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2424 เพื่อใช้เป็นหอส่องกล้อง ชมภูมิประเทศและดูดาว
HO (Tower) WITHUN THASANA (The sages lookout)
The observatory was built by King Chulalongkorn in 1881 as a lookout tower for viewing the surrounding countryside.
เป็นพระที่นั่งสองชั้นสร้างในแบบศิลปะจีนอย่างงดงามโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในไทยสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ. 2432 พระที่นั่งองค์นี้มีนามตามภาษาจีนด้วยว่า “เทียนเม่งเต้ย” (เทียน-เวหา, เม่ง-จำรูญ, เต้ย-พระที่นั่ง) ภายในห้องกลางชั้นบนของพระที่นั่ง เป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งเก๋ง 3 องค์ ติดต่อกัน ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ต่างๆ ลงรักปิดทองงามอร่าม ช่องตะวันตกประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนาฆาภิไธยกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อพ.ศ. 2433 ช่องกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และช่องตะวันออกประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2970. ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลสังเวยพระป้าย ในวันตรุษจีนทุกปี
PHRA THINANG (Royal Residence) WEHART CHAMRUN (Heavenly Light)
This Chinese-style two-storyed mansion was built by the equivalent of the Chinese
amber of Commerce and presented to Chulalongkorn in 1889. Prince Ookhtomsky
recorded that.
“It is really a palace of romance, with ornamented tiled floors, massive ebony furniture, gold, silver and porcelain freely used for decorative purposes, and delicate fretwork on the columns and on the windows. Evidently we have before us the principal sight of Bang Pa-In. The Emperor of China himself can scarcely have a palace much finer than this.”
The ground floor contains a Chinese-style
throne; the upper storey houses an altar enshrin-ing the name plates of King Mongkut and King Chulalongkorn with their respective queens. residence of King Vajiravudh (1910-1925) when he
This Chinese-style mansion was the favourite visited Bang Pa-In Place. * ibid., pp. 245-246.
พระตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
หมู่พระตำหนักฝ่ายใน เป็นอาคารแบบตะวันตกมีทั้งชั้นเดียว และสองชั้นเรียงรายกันอยู่ แต่ในปัจจุบันพระตำหนักเหล่านี้เหลืออยู่เพียงไม่กี่องค์เท่านั้น
PHRA TAMNAK ‘FAI NAI (Royal housing in the Inner Section)
The Mansion for H.H. Queen Sri Savrindira
Within the precincts of the Inner Palace were many Western-style buildings of one or two storeys for the ladies of the court, of which only a few remain today.
ในปี พ.ศ.2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เสด็จทิวงคต เนื่องจากเรือพระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุ ล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่กำลังเสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยเป็นยิ่งนัก อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้นเพื่อเป็น ที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
MEMORIAL TO QUEEN SUNANDAKUMARIRATANA
when her boat sank in the Chao Phraya River while she In 1881 Queen Sunandakumariratana drowned was on her way to Bang Pa-In Palace. King Chulalong-korn, overcome with grief, set up a marble obelisk as a cenotaph to her memory. The King composed the dedication himself in Thai and English.
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์
ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง ด้วยทรงสูญเสียพระอัครชายาเธอฯ และพระราชโอรสและพระราชธิดาถึง 3 พระองค์ในปีเดียวกัน คือสมเด็จเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์- เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430 พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2430 สมเด็จเจ้าฟ้าพาหรัดมณีมัย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2430 และสมเด็จเจ้าฟ้า ตรีเพ็ชรตม์ธำรง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2430 ดังนั้นในปีพ.ศ. 2431 จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกทำด้วย หินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
MEMORIAL TO PRINCESS SAOVABHARK NARIRATANA AND THREE ROYAL CHILDREN
In the year 1887 the Princess Saovabhark Nariratana, a consort of King Chulalongkorn, and three of his children died, so the king had a marble cenotaph bearing their portraits built for them near the earlier Memorial to Queen Sunandakumariratana.
ตำหนักพระราชชายา “เจ้าดารารัศมี”
The mansion for H.H.princess Dara Rasmi
Sakornprapaht Gate
พระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
The mansion for H.H. Princess Saisavali Bhiromya
พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลยมารศรี
The Mansion for H.H. Queen sukhumala Marasri
เรือนเจ้าจอมมารดาแส
The House for Chao Chom Manda Saer
เรือนเจ้าจอม เอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน
The House for The AW Chan Chao Chom Lam Erb, Arb,Euarn And Chao Chom manda Onn
ข้อมูล ทั้งหมด : พระราชวังบางปะอิน (เอกสารแจกการท่องเที่ยวของพระราชวังบางปะอิน)
ภาพ : ณัฏฐกฤต ชัยอริยเมธี